หลวงพ่อกวย
ชุตินฺธโร ท่านมีนามเดิมว่า "กวย ปั้นสน" เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง ณ บ้านแค หมู่ 9 ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท หลวงพ่อกวยเป็นบุตรของคุณพ่อตุ้ย ปั้นสน ซึ่งเป็นคนวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ส่วนมารดาของท่านชื่อคุณแม่ต่วน เดชมา เป็นคนบ้านแค ซึ่งท่านทั้งสองมีบุตรและธิดาด้วยกันทั้งหมด 5
คน
- บุตรคนที่ 1 ชื่อนายตุ๊ ปั้นสน (ถึงเเก่กรรมแล้ว)
- บุตรคนที่ 2 ชื่อนายคาด ปั้นสน (ถึงเเก่กรรมแล้ว)
- บุตรคนที่ 3 ชื่อนายชื้น ปั้นสน (ถึงเเก่กรรมแล้ว)
- บุตรคนที่ 4 ชื่อนางนาค ปั้นสน (ถึงเเก่กรรมแล้ว)
- บุตรคนที่ 5 หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร (มรภาพเเล้ว)
ช่วงที่หลวงพ่อกวยยังเล็ก โยมบิดาได้ส่งไปเรียนหนังสือกับหลวงปู่ขวด วัดบ้านแค
หลังจากหลวงปู่ขวดมรณภาพ
บิดามารดาจึงได้พาไปเรียนหนังสือขอมต่อกับอาจารย์ดำ วัดหัวเด่น
ซึ่งอยู่ไม่ไกลกับวัดบ้านแคนัก หลังจากนั้นท่านก็มาช่วยทางบ้านประกอบอาชีพ
ทำไร่ทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของทางครอบครัว
อุปสมบท เมื่อครบอายุบวช หลวงพ่อกวยท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดโบสถ์ ตำบลโพธิ์งาม อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โดยมีพระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อปา วัดโบสถ์
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละพระอาจารย์หริ่ง เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ 5
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2467 เวลา 15 นาฬิกา 17 นาที มีฉายาว่า ชุตินฺธโร ซึ่งแปลว่า
"โลกนี้มีแต่ความวุ่นวายของโลก หนักไปด้วยกิเลส ตัณหาคือ โลภ โกรธ หลง
ทั้งสิ้น ถ้าท่านผู้ใดตัดกิเลส ตัณหาได้ก็จะถึงซึ่งฝั่งพระนิพพาน" วิชาการเเหล่เเละเทศน์ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านแค ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร
จึงหัดเทศน์เวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร, ทานกัณฑ์
ท่านชอบเทศน์แหล่หญิงหม้ายซึ่งกล่าวถึงพระนางมัทรี ตอนที่องค์พระเวสสันดร
ถูกเนรเทศออกนอกเมือง ไปบวชอยู่ในป่า
หลักฐานในเรื่องนี้คือใบลานเทศน์ต่างๆ ที่หลวงพ่อเก็บรักษาไว้
เเละบางอันท่านได้ประทับตราสิงห์ชูคอเอาไว้ บางอัน หลวงพ่อเขียนไว้ว่า
พระกวยสร้างถวาย
หรือพระกวยสร้างส่วนตัวหลังจากนั้นหลวงพ่อได้ไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน
เพื่อเรียนวิชารักษาโรคระบาด หรือโรคห่าเเละ โรคไข้ทรพิษ เรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2472 หลวงพ่อกวยท่านได้มาอยู่ที่วัดวังขรณ์ ตำบลโพธิ์ชนไก่ นาน 2 พรรษา และในพรรษาต่อมาได้เรียนธรรมโท แต่พอสอบไล่ท่านเป็นไข้ไม่สบายเลยไม่ได้สอบ
จึงมาคิดได้ว่าปริยัติธรรมก็เรียนมาพอสมควร
จึงอยากจะเรียนวิปัสสนากรรมฐานและอาคมตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลัง
จึงได้เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วิริยะโสภิต แห่งวัดพระปรางค์
จังหวัดสิงห์บุรี หลวงพ่อกวยได้เรียนวิชาทำแหวนนิ้ว ซึ่งแหวนนิ้วของหลวงพ่อศรี
วัดพระปรางค์ ใต้ท้องวงจะตอกตัวขอมอ่านว่าอิติ
ของหลวงพ่อกวยก็เช่นกันและท่านยังได้ได้เรียนวิชาอีกหลายอย่าง
กับหลวงพ่อศรีนี้ หลวงพ่อกวยได้
ยันต์เเรกที่หลวงพ่อสำเร็จเเละท่านมั่นใจในยันต์นี้มาก นั่นคือ
ยันต์มงกุฎพระเจ้า ซึ่งหลวงพ่อมักใช้ปลุกเสกพระเเละเครื่องรางต่างๆ
ท่านมั่นใจในยันต์นี้มากเเละได้ใช้ยันต์นี้ลงในหลังเหรียญรุ่นเเเรกของท่าน
โดยบรรจุยันต์นี้ครบสูตร
เเละท่านยังได้ทำเป็นตรายางเพื่อประทับผ้ายันต์เเละรูปถ่ายบางรุ่น
คือมีความหมายทางคุ้มครองเเละช่วยเสริมดวง
จนกลายมาเป็นชื่อยันต์เสริมดวงที่เรียกกันนั่นเอง นอกจากนี้ ตามที่ได้ข้อมูลว่า ยันต์เเละคาถานะโมตาบอด หลวงพ่อก็ได้มาจากหลวงพ่อศรี
ยันต์นี้นอกจากใช้จารเครื่องรางเเล้ว
ท่านยังใช้บรรจุที่หลังเหรียญรุ่นสองของท่าน หลังจากเล่าเรียนกับหลวงพ่อศรี
ท่านก็มาจำพรรษาอยู่วัดหนองตาแก้ว ตำบลโคกช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
ที่วัดตาแก้วนี้ หลวงพ่อกวยได้ปลูกต้นสมอไว้ 1 ต้น ปัจจุบันยังอยู่
หลวงตาสมาน เคยไปอยู่วัดหนองตาแก้ว ได้นำไก่แจ้เอาไปนอนบนต้นสมอ
ปรากฏว่าไก่ไม่ยอมนอน ไม่ทราบว่าหลวงพ่อได้ลงวิชาอะไรไว้ ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อ
เพิ่งอายุ 28 ปี พรรษาได้ 8 พรรษา
แสดงว่าหลวงพ่อเป็นผู้มีอาคมตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่มๆ ต้นสมอที่หลวงพ่อลงอาคมนี้
ปัจจุบันยังอยู่เเละไม่มีใครกล้าไปตัดหรือทำอะไร เพราะกลัวอาถรรพ์ ตำราในโพรงไม้ เมื่อวันที่ 1
มิถุนายน พ.ศ. 2477 หลวงพ่อกวยได้ไปจำพรรษาที่วัดหนองแขม ตำบลดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
อีก 1 พรรษา ได้เรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม
และเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ
ในขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีเพื่อนภิกษุชื่อ แจ่ม
ได้เดินทางไปพบตำราซึ่งเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้
เพราะตำรานั้นมีอาถรรพณ์แรงมาก คล้ายมีเทพและเทวดารักษา
จึงได้มาชักชวนหลวงพ่อกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่ในโพรงไม้จริง
มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้ หลวงพ่อกวยท่านจึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า
"ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเอาตำรานี้ไปเก็บรักษาไว้
ขอธูปที่จุดนี้ให้ไหม้ให้หมดดอก" แต่ปรากฏว่าธูปได้ไหม้ไม่หมด ท่านจึงได้เสี่ยงสัตย์อธิษฐานขึ้นมาใหม่ว่า
"ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้
ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือ ประชาชนเท่านั้น"
แล้วก็จุดธูปขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายปรากฏว่าธูปได้ไหม้หมดทั้ง 3 ดอก
หลวงพ่อจึงได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของตำราและอัญเชิญเอาตำรานั้นมาเก็บไว้
เกี่ยวกับตำรานี้ มีคำร่ำลือกันว่า ก่อนหน้านั้นมีคน ๆ
หนึ่งได้นำตำราชุดนี้มาเก็บไว้ในบ้าน ได้เกิดเหตุวิบัติ เจ็บไข้ล้มตาย
จึงเอาตำราชุดนี้มาทิ้งไว้ที่ดังกล่าว หลวงพ่อกวย
เมื่อได้ข่าวดังนั้นก็มาเปิดตำราดู
ก็ปรากฏว่ามีลายลักษณ์อักษรบอกไว้ในตำราว่า ตำรานี้ห้ามเอาไปไว้บ้านใคร ๆ
ทั้งสิ้น มิฉะนั้นจะฉิบหาย ท่านจึงได้ศึกษาตำรายันต์และคาถาจากตำราเล่มนี้
ปัจจุบันตำราเล่มนี้ยังอยู่ที่วัด หน้าปกเขียนว่า “ครูแรง” ด้วยสีแดง
นับว่าหลวงพ่อกวยท่านเป็นพระที่ได้ตำราเเบบเเปลกกว่าพระอื่นๆทั่วไป
ส่วนพระภิกษุเเจ่มที่เป็นคนพาหลวงพ่อไปเอาตำรานี้ภายหลังได้สึกเเละผันชีวิตไปเป็นอ้ายเสือ
เรื่องตำรายันต์ที่หลวงพ่อคัดลอกและเรียนมานี้
ปัจจุบันบางส่วนยังอยู่ที่วัด บางส่วนอยู่ที่ศิษย์หลวงพ่อหลายๆ ท่าน
เช่นที่อาจารย์เหวียน มณีนัย บ้านท่าทอง ตำบลปากน้ำ อำเภอเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี
อยู่ที่วัดท่าทอง อยู่ที่อาจารย์โอภาส (มรณภาพเเล้ว) วัดซับลำใย
จ.ลพบุรี อยู่ที่อาจารย์แสวง (มรณภาพเเล้ว) วัดหนองอีดุก อำเภอสรรคบุรี
จังหวัดชัยนาท ตำราเก่า สมุดบันทึก ตลอดจนของเก่าๆที่หลวงพ่อเก็บไว้
บางอย่างท่านจะห่อปกด้วยกระดาษ เเละมักจะเขียนว่าห้ามทำสกปรก
จะจับถือให้เบามือ เเสดงว่าหลวงพ่อท่านเป็นคนรักของเเละมีระเบียบ
หลวงพ่อไม่หวงของเเต่ไม่ชอบให้ทิ้งขว้าง ตำรายาเเละเลขยันต์ต่างๆ
ที่ท่านได้จดบันทึกไว้ บางเล่มท่านจะเขียนหน้าปกไว้ ว่า ห้ามหยิบ ห้ามจับ
ครูเเรง บางเล่มจะเขียนสั่งว่า เปิดดูจุกตาย เป็นต้น เรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เมื่อหลวงพ่อกวยออกจากวัดหนองแขมแล้ว ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
ได้เรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ท่านได้เรียนวิชาทำแหวนแขน, ตะกรุด,
มีดหมอและวัตถุมงคลอื่นๆ ท่านศิษย์ร่วมรุ่นที่เป็นที่รู้กันคือหลวงปู่พิมพา
วัดหนองตางู อำเภอบรรพตพิสัย จากคำบอกเล่าจากพระภิกษุแบนและพระหลวงตา
ตลอดจนศิษย์รุ่นเก่าได้พูดตรงกันว่า
หลวงพ่อกวยตอนที่อยู่ที่วัดก็เป็นพระที่มีอาคมเหมือนพระทั่ว ๆ ไป
แต่เมื่อท่านกลับมาจากเรียนวิชาจากเมืองเหนือ (หมายถึงนครสวรรค์) ท่านก็เก็บตัว พูดน้อย มีจิตมหัศจรรย์ วาจาสิทธิ์
เรื่องที่หลวงพ่อไปเรียนวิชามากับหลวงพ่อเดิมนี้
มีหลักฐานคือมีรูปถ่ายของหลวงพ่อเดิม มีจารด้วย
เป็นรูปถ่ายพรรษาท้ายๆ ของหลวงพ่อเดิม ลายมือพบในกุฏิของหลวงพ่อ
หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ลุงหล่อน คนสักยันต์แทนหลวงพ่อ
ตอนนั้นลุงหล่อนได้ทำบุญเเละได้รูปหลวงพ่อเดิมมาสองรูปกับเเหวนหลวงพ่อเดิมหนึ่งวง
รูปนั้นเป็นรูปหลวงพ่อเดิมพรรษาท้ายๆ อีกรูปเป็นรูปหลังเเววหางนกยูง
ข้อมูลจากลุงหล่อน ได้กรุณาเล่าว่า สมัยนั้นเดินไปกับหลวงพ่อกวย ตอนนั้นลุงยังหนุ่มๆ อายุยี่สิบเศษๆ เดินเท้าจากบ้านเเคไปตาคลี
ใช้เวลาหนึ่งวัน ไปค้างที่วัดหนองโพสามคืน
ลุงหล่อนได้คุยเเละนวดให้หลวงพ่อเดิมด้วย ลุงบอกว่าหลวงพ่อเดิมนั้นใจดี
มีเมตาตามาก หลวงพ่อกวยเคยขอเรียนวิชาทำทอง เล่นแร่แปรธาตุ
แต่หลวงพ่อเดิมไม่สอนให้ ท่านจึงเรียนมาเท่านั้น การสักยันต์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
หลวงพ่อกวยกลับมาอยู่วัดบ้านแค ท่านได้ทำการสักให้ศิษย์จนมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน
ทางเดินสมัยก่อนต้องเดินเท้าเอา ลำบากมาก อย่างดีก็ขี่จักรยาน รถสองแถว
มีเข้าวัด 1 คัน ออก 1 คันเท่านั้น มีศิษย์สักจำนวนมาก ได้จดบัญชีไว้ 4 หมื่น 4
พันคน ต่อมาหลวงพ่อเห็นว่าสมควรแก่เวลา หลวงพ่อได้หยุดสัก และเปลี่ยนมาทำพระเเละแต่เรื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด, มีดหมอ, แหวนแขน
เป็นต้น ช่วงนั้นข้าวยากหมากเเพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะ
เเถวภาคกลางตอนล่าง เเถบนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี
เป็นเเหล่งกบคานของก๊กเสือร้ายหลายกลุ่ม
ชาวบ้านเเคก็ได้อาศัยบารมีหลวงพ่อเพื่อคุ้มครองครอบครัวเเละทรัพย์สิน
ของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด
ลูกเมียก็จะมาขอนอนที่วัดเพราะกลัวโจรฉุด วัวควายก็พากันเอามาผูกในลานวัด
จากคำบอกเล่าของคนเก่าๆ ที่บ้านเเค เล่าว่า พวกโจร
เสือต่างๆ ไม่มีใครกล้ากับหลวงพ่อกวย มีอยู่รายนึงเป็นเสือมาจากอ่างทอง
พาสมุนล้อมวัดบ้านเเคตอนกลางคืน
เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก
เเต่ก็โดนตะพดหลวงพ่อจนต้องรีบพาสมุนกลับเเละก็ไม่มาเเถวบ้านเเคอีกเลย
เขาว่าในสมัยนั้นเมื่อเสือ เดินผ่านวัดหลวงพ่อ ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง ผลงานทางศาสนา หลวงพ่อไม่ชอบการก่อสร้าง
ชอบความเป็นอยู่แบบสมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ
แต่การก่อสร้างนั้น หลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด
แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ยกเว้นส่วนที่ยากจึงจ้างช่างทำ
ฉะนั้น ทางวัดจึงมีแค่กุฏิเก่า ๆ ที่สร้างใหม่ก็มีแต่พระอุโบสถ,
ศาลาทำบุญ กุฏิชุตินฺธโร ที่ศิษย์สร้างถวายเท่านั้น เกี่ยวกับพระอุโบสถนั้น
ศิษย์หลวงพ่อ โยมเช้า เเผ้วเกตุ
ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของท่านเจ้าอาวาสวัดโมสิตารามรูปปัจจุบันเล่าว่า
สมัยก่อนได้ไปกับหลวงพ่อ ไปหาอิฐเก่าๆตามวัดร้าง โดยใช้เกวียนขน
เพื่อมาทำฐานพระอุโบสถ นอกจากนี้คนในตระกูลยิ้มจูบางท่าน
ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของหลวงพ่อ ได้เล่าให้ฟังว่า
เคยมาช่วยหลวงพ่อถมดินรอบพระอุโบสถ เวลาไปช่วยงาน
หลวงพ่อจะเเจกพระให้ทุกครั้ง สมณศักดิ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน มรณภาพ ช่วงปี พ.ศ. 2521 หลวงพ่อกวยได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉันโรค ว่าหลวงพ่อเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา 30 ปี ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง 1 เดือน ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อยู่โรงพยาบาลได้ไม่นาน ก็กลับวัด เมื่อกลับวัดหลวงพ่อก็ยังได้ฉันอาหารเพียงวันละ 1 ครั้ง เช่นเดิม โดยไม่เปลี่ยนความตั้งใจ หลวงพ่อยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคล ในเดือนมีนาคม พ.ศ.
2522 หลวงพ่อได้วงปฏิทิน วันที่ท่านเริ่มเจ็บเอาไว้ด้วยสีน้ำเงิน
และวงปฏิทิน วันที่ท่านมรณภาพเอาไว้ด้วยตัวหนังสือสีแดง คือวันที่ 11 มีนาคม และ 11 เมษายน 2522 พร้อมทั้งเขียน พระคาถา นะโมตาบอด
ให้ไว้เป็นคาถาแคล้วคลาดและกำบัง หลวงพ่อเขียนว่า "อาตมาภาพพระกวย "
นะตันโต นะโมตันติ ตันติ ตันโต นะโม ตันตัน" จะมรณภาพ วันที่ 11 เมษายน
เวลา 7 นาฬิกา 55 นาที" พอวันที่ 11 มีนาคม หลวงพ่อก็ล้มป่วย ไม่มีโรคอะไร
เพียงแต่ไม่มีกำลัง ฉันอาหารไม่ได้ ไม่ยอมไปโรงพยาบาล มีอาการไข้แทรก
ฉันอาหารแทบไม่ได้เลย ไม่มีรสชาติ บางครั้งท่านพ่นข้าวออกจากปาก ไม่ยอมฉัน
แล้วหยิบแผ่นตะกรุดขึ้นมาจาร บางครั้งก็จับสายสิญจน์ ปลุกเสกวัตถุมงคล
กลางคืนก็จับสายสิญจน์ปลุกเสกวัตถุมงคล บางคืนถึงสว่าง
ร่างกายของท่านปกติก็ผอมมากอยู่แล้วกลับผอมหนักเข้าไปอีก วันที่ 10 เมษายน
กลางคืนมีศิษย์มาเฝ้าท่านเต็มไปหมด ตอนเช้ายิ่งมาก เพราะท่านจะมรณภาพ
แต่ท่านก็ไม่มรณภาพ ท่านผอมมากมีแต่หนังหุ้มกระดูก
มีแต่ประกายตาที่สดใสเท่านั้น จนกระทั่งตกกลางคืนท่านก็ยังไม่มรณภาพ
ค่อนสว่างวันที่ 12 เมษายน 2522 ทางกรรมการวัดและศิษย์ใกล้ชิดได้ประชุมปรึกษากันว่า
สงสัยในกุฏิท่านจะลงอาถรรพณ์เอาไว้ ตลอดจนตำราอักขระเลขยันต์
ตลอดจนรูปครูบาอาจารย์ คงจะไม่มีใครกล้ามารับท่านแน่ อยากเห็นท่านไปดี
จึงปรึกษากัน นำท่านออกมาที่หอสวดมนต์ เมื่อเตรียมที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
อุ้มท่านมาจำวัดที่เตียงที่หอสวดมนต์ ท่านลืมตาขึ้นเป็นการสั่งลา
ครั้งสุดท้าย แล้วหลับตาพนมมือเกิดอัศจรรย์
ระฆังใบใหญ่ที่หอสวดมนต์ได้ขาดตกลงมา ดังหง่าง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ดังยาวนาน
ศิษย์ที่อยู่ศาลาเข้าใจว่าท่านมรณภาพแล้ว จึงได้ตีระฆัง
คือคาดว่ามีคนตีระฆัง เมื่อจับเวลาดู เป็นเวลา 7 นาฬิกา 55 นาที
จับชีพจรท่านดู ปรากฏว่าท่านมรณภาพแล้ว ตรงกับวันที่ 12 เมษายน ซึ่งวันที่
13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยโบราณ
ปัจจุบันทางวัดเเละเหล่าบรรดาศิษย์หลวงพ่อจึงยึดเอาในวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญ ประจำปีเพื่ออุทิศและระลึกถึงหลวงพ่อ
จบประวัติของหลวงพ่อคร่าวๆเเต่เพียงเท่านี้
ขอให้หลวงพ่อคุ้มครองทุกท่านให้มีแต่ความสุขความเจริญ
ชีวิตไม่ตกต่ำเหมือนกับคำพรของหลวงพ่อ ที่เคยให้ไว้
"ขอศิษย์ทั้งหลาย จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา" |